Pre - Production (การเตรียมงานถ่าย)
ในการทำหนังสั้น นะครับ จะมีขั้นตอน หลักอยู่ 3 ขั้นตอนด้วยกัน นั่นก็คือ
Pre - Production (การเตรียมงานถ่าย)
Production (การถ่ายทำ)
Post - Production (ช่วงเก็บรายละเอียด - ตัดต่อ)
ในวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง Pre - Production (การเตรียมงานถ่าย) กันนะครับว่ามีกระบวนการอะไรบ้าง
หลายคนที่เคยทำหนังสั้น หรือ ยังไม่เคยนะครับ เชื่อว่าต้องผ่านกระบวนการนี้นั่นก็คือการเขียนบท การเขียนบทนั้นก็จะมีขั้นตอนในการเขียนดังนี้
Theme>Plot>Outline>Treatment>Screenplay
Theme คืออะไร
Theme คือแก่นของเรื่อง เรื่องเล่าถูกกำหนดให้มองผ่าน ธีม (theme) เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางที่ชัดเจนของเรื่อง และส่งผลต่อการพัฒนาเรื่องเป็นบทภาพยนตร์ต่อไป
Plot คืออะไร
Plot คือโครงเรื่อง หมายถึงการกำหนดผ่านรายละเอียดสำคัญ (ตัวละครหลัก , ปมขัดแย้งสำคัญ) หรือ เข้าใจง่ายๆ คือ การเขียนเรียงความนั่นเอง
Plot จะมีโครงสร้างง่ายๆ คือ หลัก 3 องค์
องก์ที่ 1 = เปิดเรื่อง สร้างโลก ปูพื้น และ ปมปัญหา องก์ที่ 2 = ดำเนินเรื่องการเผชิญหน้า และทางออก ของปมปัญหา องก์ที่ 3 = climax การแก้ปมปัญหา และบทสรุป
ตัวอย่างการเขียน Plot
"ชายหญิงสองคน กำลังเข้านอนแต่สายตาของ ชายได้เห็นเงาดำๆผ่านหน้าต่างไป
ชายหนุ่มได้บอกกับแฟนสาวแต่เธอดูจะไม่สนใจ แล้วก็บอกให้ชายหนุ่มเข้านอน
ทั้งคู่หลับไปเงาดำนั้นก็ผ่านมาอีกแต่ครั้งนี้ดูใกล้กว่าเดิม
ชายหนุ่มสะกิดแฟนสาวแต่เธอก็ไม่สนใจ เพราะอยากจะนอนแล้ว ชายหนุ่มเผลอหลับไป
เงาดำนั้นก็เข้ามาใกล้ห้องแท้จริงแล้วเงาดำนั้นคือโจรที่ย่องมาจะขโมยของในห้อง
หญิงสาวลุกออกไปเข้าห้องน้ำ โจรอาศัยมุมมืดพลางตัวทำให้เธอไม่ทันสังเกตุ
โจรย่องไปเข้าห้อง ชายหนุ่มรู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างเข้ามา
ลุกขึ้นมามองทั่วๆแล้วหันไปสะกิดแฟนสาวแต่เธอไม่อยู่
ชายหนุ่มคิดแต่ว่าเค้าต้องโดนผีหลอกแน่แล้ว รีบเปิดไฟแต่ตรงสวิทไฟ เป็นโจรอยู่พอดี
โจรรีบดับไฟ ชายหนุ่มยิ่งคิดว่าเป็นผี แฟนสาวกลับเข้ามาเห็นชายหนุ่ม ตกใจจึงเปิดไฟ
เห็นโจรอยู่ตรงหนัา ทั้ง3ตกใจ โจรไหวตัวทันวิ่งหนีออกไป"
Outline คืออะไร
Outline เป็นขั้นตอนต่อเนื่องของการพัฒนาบทภาพยนตร์จากโครงเรื่อง(Plot) มาเป็น Outline ใช้วิธีการเขียนที่เน้นบอกเรื่องราวผ่านตัวละครและเหตุการณ์สำคัญในแต่ละฉาก โดยเรียงลำดับฉากแรกจนถึงฉากสุดท้าย
ตัวอย่างการเขียน Outline
1.ชายหนุ่มกำลังเดินไปหาแฟนสาวของเขาแต่สายตาของเขานั้นได้เหลือบไปเห็นเงาดำๆ แต่แฟนสาวไม่สนใจ
2.เมื่อทั้งคู่กำลังจะนอน ชายหนุ่มก็เห็นเงาดำนั้นอีกแต่แฟนสาวของเขาก็ยังไม่เชื่อที่ชายหนุ่มบอก
Treatment คืออะไร
Treatment หรือ บทภาพยนตร์แบบโครงร่าง
- การเขียนบรรยายรายละเอียดที่เกิดขึ้นในแต่ละฉากภาพยนตร์
- การเขียนแสดงรายละเอียดสำคัญที่ประกอบด้วย ชื่อตัวละครสำคัญ ทำอะไรในฉากนั้น ทำด้วยความรู้สึกอย่างไร ทำไมต้องทำให้เกิดเหตุการณ์นั้น และส่งผลกระทบต่ออะไร
- การเขียนโดยรู้ว่าต้องการระบุประเด็นสำคัญในแต่ละฉากภาพยนตร์ อะไรคือประเด็นสำคัญที่ต้องบอกในฉากนั้นๆ
การเขียน Treatment ต้องเขียนผ่าน Scene
Treatment ไม่เหมือน Outline เพราะ outline เขียนโดยย่อเพื่อระบุเหตุการณ์ในแต่ละฉากภาพยนตร์ แต่ Treatment คือการเขียนเพื่อแสดงรายละเอียดสำคัญในฉากภาพยนตร์ และเขียนเพื่อบรรยายอารมณ์ในฉากนั้นๆ
ตัวอย่างการเขียน Treatment
Scene 1 ภายใน/ห้องนั่งเล่น/กลางคืน
หนึ่งชายหนุ่มที่ขี้เซา เป็นคนที่ไม่เคยจริงจังกับเรื่องอะไรแม้แต่แฟนของเค้า หนึ่งเดินมาที่ห้องนั่งเล่นเพื่อจะพาใหม่แฟนสาวของเค้าไปเข้านอน เมื่อหนึ่งเดินมาถึงสายตาของเขาได้เหลือบไปเห็นเงาดำๆ ลักษณะเหมือนคนผ่านที่หน้าต่างไป หนึ่งแปลกใจว่าเงานั้นคืออะไร ในใจก็คิดไปต่างๆนาๆว่าจะเป็นผีหรือขโมย หนึ่งบอกใหม่แต่ใหม่ก็รู้ว่าหนึ่งไม่เคยพูดอะไรจริงจังจึงรีบให้หนึ่งเข้านอนไป
Screenplay คืออะไร
Screenplay เป็นขั้นตอนต่อเนื่องจากพัฒนาบทภาพยนตร์จาก Treatment มาเป็น Screenplay จะมีรายละเอียดเหมือนกับ Treatment แต่จะเพิ่มเป็น บทพูด(Dialog) เพื่อให้นักแสดงใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์
ตัวอย่างการเขียน Screenplay
Scene 1 ภายใน/ห้องนั่งเล่น/กลางคืน
หนึ่ง
ชายหนุ่มที่ขี้เซา เป็นคนที่ไม่เคยจริงจังกับเรื่องอะไรแม้แต่แฟนของเค้า
หนึ่งเดินมาที่ห้องนั่งเล่นเพื่อจะพาใหม่แฟนสาวของเค้าไปเข้านอน
เมื่อหนึ่งเดินมาถึงสายตาของเขาได้เหลือบไปเห็นเงาดำๆ
ลักษณะเหมือนคนผ่านที่หน้าต่างไป หนึ่งแปลกใจว่าเงานั้นคืออะไร
ในใจก็คิดไปต่างๆนาๆว่าจะเป็นผีหรือขโมย
หนึ่งบอกใหม่แต่ใหม่ก็รู้ว่าหนึ่งไม่เคยพูดอะไรจริงจังจึงรีบให้หนึ่งเข้า
นอนไป
หนึ่ง
เธอเห็นเหมือนเรามั้ย
ใหม่
เห็นอะไร
หนึ่ง
เมื่อกี้ไม่เห็นเงาดำ หรอ
ใหม่
ไร้สาระ น่า
หนึ่ง
เธอ... มันอาจจะเป็นขโมยก็ได้นะ
หรือว่า....เป็นผี!!!
ใหม่
ชักจะไปกันใหญ่แล้ว ไปนอนซะ
:: นี่คือตัวอย่างการเขียนบทแบบง่ายๆนะครับ หวังว่าทุกคนจะนำไปปรับใช้ได้
เมื่อเราได้บทภาพยนตร์มาแล้ว คราวนี้จะเป็นการเตรียมงานเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์ จะต้องมีการประชุมงาน เพื่อแบ่งหน้าที่ต่างๆเช่น
ผู้กำกับ Director
ผู้ช่วยผู้กำกับ Assistant Director
ผู้กำกับภาพ Director of Photography
ผู้กำกับศิลป์ Art Director
และฝ่ายต่างๆอีกมากมาย
ในขั้นตอนนี้ ผู้ช่วยผู้กำกับ เป็นคนดำเนินงานซะส่วนใหญ่ จะมีขั้นตอนดังนี้
นัดประชุมทีมงาน
ก่อนที่จะถ่ายทำภาพยนตร์ จะต้องมีการประชุมเพื่อคุยรายละเอียดต่างๆ ผู้กำกับจะอธิบายบทให้ทีมงานเข้าใจ และอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนอะไรก็ควรจะเสนอแนะกันในตอนประชุม เมื่อเสร็จสิ้นการประชุมทุกคนก็จะต้องทำหน้าที่ต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย
หาสถานที่ถ่ายทำ(Location)
เมื่อบทภาพยนตร์พร้อมถ่าย ผู้กำกับต้องการสถานที่แบบไหน ทีมงานก็จะต้องหาสถานที่เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้กำกับ เพื่อให้ดูสมจริง น่าเชื่อถือ และออกมาสวยงาม
หานักแสดง(Casting)
การหานักแสดงต้อง ให้บุคลิกของตัวละครออกมา ตามที่ผู้กำกับต้องการ
เตรียมอุปกรณ์ประกอบฉาก
หน้าที่นี้จะเป็นของผู้กำกับศิลป์ที่จะต้อง ดูบทแล้วทำเข้าใจ ต้องดูว่าฉากไหนต้องมีอุปกรณ์แบบไหนอยู่ในฉาก แล้วจัดเตรียมไว้สำหรับการถ่ายทำที่จะเกิดขึ้น และต้องเป็นไปตามที่ผู้กำกับต้องการ ในบางฉากอาจจะต้องเตรียมไว้สำรองเช่น หมวกที่จะต้องเลาะเลือด เพราะอาจจะเกิดการพลาดแล้วต้องถ่ายใหม่ เพราะฉนั้นจำเป็นที่จะต้องเตรียมอุปกรณ์ไว้สำรองเพื่อทดแทนกันได้
การWorkshop ทีมงาน นักแสดง
หากการถ่ายทำต้องมีเทคนิคพิเศษ เช่น ฉากแอคชั่นต้องมีระเบิด ฉากนักแสดงถูกรถชน ต้องมีการมาเตรียมก่อนว่าจะใช้เทคนิคอย่างไร ทีมงานจะต้องรับผิดชอบในหน้าที่นี้ เพื่อความปลอดภัยของทุกคน
ส่วนนักแสดง ก็ต้องมาพบปะพูดคุยกัน เพราะส่วนใหญ่แล้วนักแสดงจะไม่รู้จักกัน ก็จะต้องมาพูดคุย ซ้อมบทคร่าวๆ เพื่อจะได้ไม่เขินอายในวันที่ถ่ายจริง
กำหนดวันถ่ายทำภาพยนตร์
ผู้ช่วยผู้กำกับจะต้อง ดูว่าทุกฝ่ายว่างตรงกันเมื่อไร วันที่ถ่ายเหมาะสมกับสภาพ ลม ฟ้า อากาศ หรือไม่ เหมาะสมกับสถานที่ ที่จะไปถ่ายทำหรือไม่ เช่น ถ่ายฉากในโรงเรียน หากต้องการความสงบก็ควรจะถ่ายในวันเสาร์-อาทิตย์ แต่ถ้าต้องการให้เห็นบรรยากาศของนักเรียนก็ควรจะถ่ายวันจันทร์-ศุกร์
VIDEO
:: นี่คือตัวอย่างการworkshop
Credit : By Unknowpresent team www.facebook.com/unknowpresent
เมื่อทุกอย่างพร้อม ทีมงานก็จะเข้าสู่กระบวนการต่อไปนั้นก็คือ Production พบกันใหม่โพสหน้าครับ
อ้างอิง
scenic. วิธีเขียนบทหนัง [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://www.thaishortfilm.com/board/viewtopic.php?t=5431, 17 กันยายน 2555
ผลงานนี้ ใช้
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ต้นฉบับ .