วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

Production(การถ่ายทำ)

 Production(การถ่ายทำ)

เมื่อเราเตรียมงานถ่ายกันแล้วนะครับ คราวนี้จะมาถึงการ Production ขั้นตอนนี้สำคัญมาก ต้องไม่ให้เกินเวลาที่กำหนดและงานต้องออกมาดีที่สุด ทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับการเตรียมงานว่าเตรียมมาดีแค่ไหน

ในขั้นตอนการผลิตภาพยนตร์(Production) จะมีตำแหน่งต่างๆดังนี้
ผู้กำกับ Director - เป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวในภาพยนตร์ กำหนดทิศทางของหนัง อารมณ์ของหนัง
ผู้ช่วยผู้กำกับ Assistant - คอยเป็นผู้ช่วยในทุกเรื่อง ต้องรู้มากกว่าผู้กำกับ ซ้อมบทนักแสดง จัดคิวถ่าย ควบคุมเวลาให้ไม่เกินกำหนด ดำเนินงานการถ่ายทำ
ผู้จัดการกองถ่าย Producer - จัดหาทุกอย่างที่กองถ่ายต้องการ ตั้งแต่สถานที่ถ่ายทำ โรงแรม อาหาร เครื่องดื่ม นักแสดง 
ผู้กำกับภาพ Director of Photography - กำหนดภาพที่จะเห็นในจอ กำหนดทิศทางแสง การเคลื่อนกล้อง ขนาดภาพ
ผู้กำกับศิลป์ Art Director - จัดเตรียมอุปกรณ์ประกอบฉากทุกอย่างที่ต้องอยู่ในฉากนั้นๆ ให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง
ผู้บันทึกเสียง Sound location - บันทึกเสียงในภาพยนตร์ ตั้งแต่เสียงพูด เสียงบรรยากาศ ต้องควบคุมให้พอเหมาะ ไม่มีเสียงรบกวนมากเกินไปและต้องฟังชัดเจน
ผู้ดูแลเสื้อผ้า/แต่งหน้า Custome/Makeup - จัดเตรียมเสื้อผ้าที่จะใช้ในฉาก ให้เหมาะสมกับนักแสดง แต่งหน้าให้เข้ากับอารมณ์ของหนังและเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในฉาก

:: นี่คือตำแหน่งที่ควรจะมีในการถ่ายหนังสั้น อาจจะทำควบกันก็ได้ เช่น เป็นทั้งผู้กำกับ และ ผู้กำกับภาพ


การกำหนดขนาดภาพในภาพยนตร์
ECU ( Extreme Close Up) - ลักษณะภาพแบบนี้จะเป็นการถ่ายภาพในระยะใกล้มากๆ ใช้ขับเน้นรายละเอียด หรือใช้เน้นและจับความรู้สึกของตัวละครนั้นให้เด่นออกมา และ ให้ความรู้สึกกดดัน เช่นภาพที่จับแค่ดวงตา หรือ ริมฝีปากตัวละคร
CU (Close Up) - ขนาดของวัตถุในภาพจะเล็กกว่า ECU  มองเห็นใบหน้าทั้งหมดลักษณะการใช้งานคล้ายกับ ECU ให้ความรู้สึกกดดันแต่จะน้อยกว่า ECU
MCU (Medium Close Up) - จับภาพตั้งแต่ช่วงอกขึ้นไป เพื่อจะได้เห็นท่าทางของตัวนักแสดงได้มากขึ้น  
MS (Medium Shot) - เป็นการถ่ายตัวแสดงครึ่งตัวจากเอวขึ้นไป ใช้สำหรับถ่ายทอดท่าทางของตัวนักแสดง โดยที่ไม่มีผลของการเร้าอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นภาพขนาดปกติที่นิยมใช้กัน
MLS (Medium Long Shot) - คล้าย MS โดยที่กล้องจะเก็บภาพไม่เต็มตัว(แต่ก็เกือบจะเต็มตัว) ระยะภาพแบบนี้เริ่มจะกันคนดูออกมาเป็นเพียงผู้สังเกตุการณ์
LS (Long Shot) - เป็นการถ่ายที่จะเก็บภาพตัวแสดงเต็มตัว พร้อมๆกับสภาพแวดล้อมรอบข้าง
ELS (Extreme Long Shot) - เป็นการถ่ายเพื่อให้เห็นบรรยากาศของสถานที่ เช่น การนำกล้องขึ้นเฮลิคอปเตอร์ ถ่ายบรรยากาศเมือง


:: นี่คือตัวอย่างขนาดภาพในภาพยนตร์นะครับ ลองนำไปปรับใช้ดูได้
:: การกำหนดขนาดภาพในภาพยนตร์สำคัญมาก เพราะจะเป็นการเล่าอารมณ์ผ่านภาพได้  


ในการถ่ายภาพยนตร์ส่วนใหญ่นั้นจะเปิดฉากด้วยภาพขนาด LS เพื่อให้เห็น1บรรยากาศของสถานที่นั้นๆ ก่อนที่จะดำเนินเรื่อง ต่อจากนั้นก็จะมาใช้ภาพขนาด MS เพื่อให้เห็นการกระทำของตัวละคร จากนั้นจะใช้ภาพขนาดMCU - CU  เพื่อให้เห็นหน้านักแสดงในขณะที่สนทนากัน จะมีการถ่าย 2 แบบ คือการถ่ายหน้าตรง หรือ การถ่ายผ่านไหลโดยที่นักแสดงหันหน้าเข้าหากัน 



อ้างอิง
อนุกูล วิมูลศักดิ์. ขนาดภาพ [ออนไลน์]เข้าถึงได้จาก : http://www.thaicine.com/wboard/maintopic.php?GroupID=64&Begin=50&ID=5317http://www.thaicine.com/wboard/maintopic.php?GroupID=64&Begin=50&ID=5317,  17 กันยายน 2555
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ต้นฉบับ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น